ธุรกิจด้านพลังงาน

พลังงานแสงอาทิตย์อีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานทดแทน

เนื่องด้วยสภาวะของโลกในปัจจุบันที่มีแน้วโน้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อนประกอบกับประเทศไทยต้องการลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ จึงได้เล็งเห็นพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ด้วยภูมิประเทศที่อยู่ในเส้นศูนย์สูตร ทำให้ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าเขตอื่นๆ ของโลก ซึ่งการศึกษาจากข้อมูลดาวเทียมประกอบการตรวจวัดภาคพื้นดินของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) พบว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย ซึ่งมีความเข้มรังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปีประมาณ 18.2 เมกะจูลต่อตารางเมตร ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ร้อยเอ็ด ศรีสะเกศ อุบลราชธานี และอุดรธานี และบางส่วนอยู่ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เช่น สระบุรี ลพบุรีและพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์
แผนที่พลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก
แผนที่พลังงานแสงอาทิตย์เฉพาะในเขต Asean
ที่มา : http://meteonorm.com/fileadmin/user_upload/maps/gh_map_world_v7.p
จากศักยภาพดังกล่าว ทางภาครัฐจึงได้พยายามส่งเสริมให้ภาคเอกชนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการสนับสนุนทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน เช่น การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การสนับสนุนการกู้ยืมเงินทุนและเงินหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงิน เป็นต้น ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมา มีเอกชนให้ความสนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 3,393 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม จากที่มีผู้สนใจลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก เกินกว่าเป้าหมายที่รับซื้อ 2,000 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานจึงได้หยุดการรับซื้อไฟฟ้าที่ให้ Adder 8 บาทต่อหน่วย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 เป็นต้นมา และปรับลด Adder ลงมาเหลือเพียง 6.50 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปีแทน เนื่องจากต้นทุนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกินระยะเวลากำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ เพื่อยกเลิกใบอนุญาต โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการยกเลิกไปแล้วประมาณ 400-500 เมกะวัตต์ เพื่อนำไปสู่การลงทุนที่แท้จริง รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Feed-in Tariff ที่ให้ราคาคงที่ ประมาณ 6.80 บาทต่อหน่วย ตลอดอายุสัมปทานต่อไป พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานจากธรรมชาติ ที่มีความสะอาดปราศจากมลพิษ เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงใช้อย่างไม่หมดสิ้น ซึ่งการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า จะช่วยเสริมความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยและยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบันการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ อาจจำแนกได้ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และการผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย คือ การใช้เซลล์อาทิตย์ (solar cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการ นำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า ทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเล็คตรอน) ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ สามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้

ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ

Single Crystalline Silicon Solar Cell
Polycrystalline Silicon Solar Cell
Amorphous Silicon Solar Cell
  1. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน ชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Silicon Solar Cell) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Monocrystalline Silicon Solar Cell เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแรกๆ ที่ได้รับการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนหนาประมาณ 300 ไมครอน หรือที่เรียกว่า เวเฟอร์ และชนิดผลึกรวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนแข็งและบางมากเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อ ลดต้นทุนของโซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว โดยยังคงคุณสมบัติและประสิทธิภาพการใช้งาน ใกล้เคียงกับแบบผลึกเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะนิยมใช้เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้
  2. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจาก อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลาในการผลิต เนื่องจากเป็นฟิลม์บางเพียง 0.5 ไมครอน น้าหนักเบาและมีความยืดหยุ่นกว่าแบบผลึก เหมาะกับการใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
  3. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำอื่นๆ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์, แคดเมียม เทลเลอไรด์ และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ เป็นต้น มีทั้งชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline) และผลึกรวม (Polycrystalline) เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากแกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ จะให้ประสิทธิภาพสูงถึง 20-25%

โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์

โครงสร้างที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำที่ราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนโลก คือ ซิลิคอน จึงถูกนำมาสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ โดยนำซิลิคอนมาถลุง และผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ จนกระทั่งทำให้เป็นผลึก จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแพร่ซึมสารเจือปนเพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็น โดยเมื่อเติมสารเจือฟอสฟอรัส จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (เพราะนำไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ) และเมื่อเติมสารเจือโบรอน จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี (เพราะนำไฟฟ้าด้วย โฮล ซึ่งมีประจุบวก) ดังนั้น เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและเอ็นมาต่อกัน จะเกิดรอยต่อพีเอ็นขึ้น โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน อาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความหนา 200-400 ไมครอน (0.2-0.4 มม.) ผิวด้านรับแสงจะมีชั้นแพร่ซึมที่มีการนำไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่รับแสงจะมีลักษณะคล้ายก้างปลาเพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด ส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นขั้วโลหะเต็มพื้นผิว

หลักการทำงานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์

เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนาไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะมีการเลือกเทคโนโลยีในการติดตั้งแผงเซลล์อาทิตย์ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของแต่ละบริษัท ที่นิยมใช้กันอยู่เวลานี้จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การติดตั้งแบบอยู่กับที่ (Fixed system) ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงแบบระบุตำแหน่งชัดเจน โดยใช้การคำนวณจากข้อมูลเฉลี่ยของระดับความเข้มของแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อกำหนดองศาของการติดตั้งแผงเพื่อรับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และการติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking system)
อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอยู่กับที่นี้ ทำให้ได้รับค่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ดีเพียงบางช่วงเวลาหรือประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดจาก ทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ จะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ในเวลาเที่ยงวันเท่านั้น จึงทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เต็มศักยภาพเท่าที่ควร แต่ข้อดีของการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบนี้จะมีต้นทุนในการติดตั้งไม่สูงมากนัก และการดูแลรักษาง่าย
นอกจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบคงที่ (Fixed system) ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้กันแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มสูงขึ้นด้วย นั่นคือ การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking system)
หลักการทำงานของการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบหมุนตามดวงอาทิตย์นี้ เป็นการติดตั้งที่ให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถหมุนตามดวงอาทิตย์ เพื่อรับความเข้มของแสงได้สูงสุดตลอดวัน โดยการหมุนจะถูกควบคุมด้วยระบบเซ็นเซอร์หรือการตั้งเวลา เพื่อควบคุมตำแหน่งของแผงให้หมุนไปตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตามช่วงเวลาระหว่างวัน ซึ่งจะทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เก็บพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นคือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบคงที่ประมาณ 20%

ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์

  • ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิริยาที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  • เป็นการนำพลังงานจากแหล่งธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้
  • สามารถนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่บนโลก และได้พลังงานไฟฟ้าใช้โดยตรง
  • ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน้ำ
  • ไม่เกิดของเสียขณะใช้งาน จึงไม่มีการปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง
  • เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีการเคลื่อนไหวขณะทำงาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ
  • ต้องการการบำรุงรักษาน้อยมาก
  • อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่
  • มีน้าหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว
  • เนื่องจากมีลักษณะเป็นโมดูล จึงสามารถประกอบได้ตามขนาดที่ต้องการ
  • ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจาพวกน้ามัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ
การประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ การนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานจากธรรมชาติมาทดแทนพลังงานรูปแบบอื่นๆ ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายในการดำรงชีวิต รวมถึงไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น

บ้านพักอาศัย ระบบแสงสว่างภายในบ้าน, ระบบแสงสว่างนอกบ้าน (ไฟสนาม, ไฟโรงจอดรถ และโคมไฟรั้วบ้าน ฯลฯ), อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ , ระบบเปิด-ปิดประตูบ้าน, ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบระบายอากาศ, เครื่องสูบน้า, เครื่องกรองน้า และไฟสารองยามฉุกเฉิน ฯลฯ
ระบบสูบน้า อุปโภค, สาธารณูปโภค, ฟาร์มเลี้ยงสัตว์, เพาะปลูก, ทำสวน-ไร่, เหมืองแร่ และชลประทาน ฯลฯ
ระบบแสงสว่าง โคมไฟป้ายรถเมล์, ตู้โทรศัพท์, ป้ายประกาศ, สถานที่จอดรถ, แสงสว่างภายนอกอาคาร และไฟถนนสาธารณะ ฯลฯ
ระบบประจุแบตเตอรี่ ไฟสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน, ศูนย์ประจุแบตเตอรี่ประจำหมู่บ้านในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้, แหล่งจ่ายไฟสาหรับใช้ในครัวเรือนและระบบแสงสว่างในพื้นที่ห่างไกล ฯลฯ
ทำการเกษตร ระบบสูบน้า, พัดลมอบผลผลิตทางการเกษตร และเครื่องนวดข้าว ฯลฯ
เลี้ยงสัตว์ ระบบสูบน้า, ระบบเติมออกซิเจนในบ่อน้า (บ่อกุ้งและบ่อปลา) และแสงไฟดักจับแมลง ฯลฯ
อนามัย ตู้เย็น/กล่องทำความเย็นเพื่อเก็บยาและวัคซีน, อุปกรณ์ไฟฟ้าทางการแพทย์ สาหรับหน่วยอนามัย, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสถานีอนามัย ฯลฯ
คมนาคม สัญญาณเตือนทางอากาศ, ไฟนำร่องทางขึ้น-ลงเครื่องบิน, ไฟประภาคาร, ไฟนำร่องเดินเรือ, ไฟสัญญาณข้ามถนน, สัญญาณจราจร, โคมไฟถนน และโทรศัพท์ฉุกเฉิน ฯลฯ
สื่อสาร สถานีทวนสัญญาณไมโครเวฟ, อุปกรณ์โทรคมนาคม, อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา (เช่น วิทยุสนามของหน่วยงานบริการและทหาร) และสถานีตรวจสอบอากาศ ฯลฯ
บันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักตากอากาศในพื้นที่ห่างไกล, ระบบประจุแบตเตอรี่แบบพกพาติดตัวไปได้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิง ฯลฯ
พื้นที่ห่างไกล ภูเขา, เกาะ, ป่าลึก และพื้นที่สายส่งการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ฯลฯ
อวกาศ ดาวเทียม

การประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทในเครือ

ตามที่ภาครัฐได้มีนโยบายในการสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าพลังงานทดแทนนั้น โดยกลุ่มบริษัทได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนา และได้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตที่สูง และมีความเสี่ยงในการดำเนินงานต่ำ ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่บริษัทและบริษัทย่อยได้ในระยะยาว บริษัทฯ จึงได้ขยายธุรกิจในด้านพลังงานทดแทน โดยเมื่อปลายปี 2554 บริษัทฯได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรก ที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ขนาดกำลังการผลิตรวม 10 เมกกะวัตต์ ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555 เป็นต้นมา และเมื่อปลายปี 2555 กลุ่มบริษัทได้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มอีกหนึ่งแห่ง ที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ขนาดกำลังการผลิต 5 เมกกะวัตต์ และเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปลายปี 2556 กลุ่มบริษัทได้ลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Roof) จำนวน 8 โครงการ

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัท ขนาดกำลังการผลิตรวม 15 เมกะวัตต์

โครงการ ขนาด (เมกกะวัตต์) ที่ตั้งโครงการ เริ่มจำหน่ายไฟฟ้า
1 10 อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี 15 ตุลาคม 2555
2 5 อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 4 กุมภาพันธ์ 2557

โรงไฟฟ้าบ่อพลอย อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี

โรงไฟฟ้าลพบุรี อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ขนาดกำลังการผลิตรวม 1.5 เมกะวัตต์

โครงการ ขนาด(กิโลวัตต์) ที่ตั้งโครงการ เริ่มจำหน่ายไฟฟ้า
1-5 1,071.88 อำเภอกิ่งบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 18 กันยายน 2557
6 129.36 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ภายใน 30 มิถุนายน 2558
7 64.68 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภายใน 30 มิถุนายน 2558
8 237.16 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภายใน 30 มิถุนายน 2558
รวม 8 โครงการ 1,503.08

ลักษณะผลิตภัณฑ์และการบริการ

กลุ่มบริษัทได้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค("กฟภ.") โดยกลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สาหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ในอัตรา 8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี
ทั้งนี้การจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ในแต่ละโครงการสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ได้ โดยจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์หลัก ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามระเบียบของ BOI ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งได้ดำเนินการขอรับบัตรส่งเสริมจาก BOI เรียบร้อยแล้ว

โครงสร้างรายได้

รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า : กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟภ. สำหรับการซื้อขายไฟฟ้า ของ โรงไฟฟ้าบ่อพลอย จำนวน 10 เมกกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าลพบุรี จำนวน 5 เมกกะวัตต์ รวม 2 โครงการ เป็นจำนวน 15 เมกกะวัตต์ โดยสัญญามีระยะเวลา 5 ปี ต่ออายุครั้งละ 5 ปี โดยอัตโนมัติ รวมเป็นระยะเวลา 25 ปี และมีผลบังคับใช้จนกว่าผู้ผลิตไฟฟ้ายื่นหนังสือขอยกเลิกสัญญา
รายได้จากส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) : โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนรูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในอัตรา 8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันเริ่มซื้อขายไฟฟ้า
รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต : คาร์บอนเครดิต หมายถึง กรรมสิทธิ์ในปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ภายใต้พิธีสารเกียวโต ที่เกิดจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism "CDM") ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) และออกเป็น Certificated Emission Reductions ("CERs") หรือใบรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปเสนอขายต่อไป

สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน

กลุ่มบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยได้รับสิทธิ์ประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการระยะเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้ และภายหลังจากระยะเวลา 8 ปี ดังกล่าว กิจการจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี และโรงไฟฟ้าบ่อพลอยเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555 ส่วนโรงไฟฟ้าลพบุรีคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ประมาณต้นปี 2557

อัตราภาษีที่ชำระสามารถสรุปได้ ดังนี้ :-

ปี อัตราภาษีที่ได้รับการยกเว้น อัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่ต้องชำระ *
ปีที่ 1 – ปีที่ 8 100% 0%
ปีที่ 9 – ปีที่ 13 50% 15%
ตั้งแต่ปีที่ 13 ขึ้นไป 0% 30%
* คำนวณจากอัตราภาษีเงินได้ปกติ 30%

การตลาดและภาวะการแข่งขัน

กลยุทธ์การแข่งขัน
การประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่ไม่มีการแข่งขันทางตรงกับผู้ประกอบการรายใด เนื่องจากการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. นั้น ผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าตามราคาและเงื่อนไขที่ได้รับจาก กฟภ. เท่านั้น
ด้วยลักษณะของธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว กลุ่มบริษัทได้กำหนดกลยุทธ์หลักสำหรับธุรกิจ โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และมีการเจริญเติบโตของผลการดำเนินงาน ดังนี้
  1. มุ่งเน้นการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (VSPP) จากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    จากการที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนนั้น กลุ่มบริษัทจึงมีกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นที่จะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) ในการจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ กฟภ. เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว ไม่มีความเสี่ยงในด้านการแข่งขัน สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ อีกทั้งยังมีความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ และสามารถคืนทุนให้แก่บริษัทได้ในระยะเวลาที่สั้น
  2. การเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า
    กลุ่มบริษัทพิจารณาเลือกแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่สูงตามขนาดกาลังการผลิตที่กำหนด ซึ่งคัดเลือก จากผู้ผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากต่างประเทศ โดยเป็นผู้ที่มีความสามารถในกระบวนการผลิตครบถ้วนทุกขั้นตอน เริ่มตั้งต้นจนกระทั่งเสร็จกระบวนการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งยังมีหน่วยงานวิจัยและการพัฒนาเป็นของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างหรืออาศัยในบางขั้นตอนการผลิต เช่นเดียวกับผู้ผลิตรายอื่น ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้เปรียบเทียบกับผู้ผลิตในประเทศอื่น ๆ แล้ว เห็นว่าผู้ผลิตรายนี้มีแผงโซล่าร์เซลล์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีทันสมัย มีประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า และราคาที่เหมาะสมในการลงทุน อีกทั้งมีความพร้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่กลุ่มบริษัทได้

ลักษณะของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย

ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทได้แก่หน่วยงานทางด้านไฟฟ้าของภาครัฐเพียงรายเดียว โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง) ทั้งนี้โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนในปัจจุบันนั้น กำหนดให้ต้องผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าทั้งหมดให้กับหน่วยงานการไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตามรายละเอียด และเงื่อนไขสัญญารับซื้อไฟฟ้า

การจัดหาผลิตภัณฑ์

ระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์ และแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าชนิดกระแสตรง ส่งผ่านไปยังตู้รวมกระแสย่อย เพื่อรวบรวมไฟฟ้าในแต่ละชุดเข้าด้วยกัน จากนั้นส่งไปยังเครื่องแปลง กระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ และแปลงแรงดันให้สูงขึ้นโดยหม้อแปลงแรงดัน เพื่อส่งต่อไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงดันสูงและทำการจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่อไป
ระบบการ

บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน)

จังหวัด กาญจนบุรี
จังหวัด ลพบุรี